อนาคตของฉันนายเทพรักษ์ สุริฝ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ


พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่ จังหวัดนนทบุรีเป็นบุตรของ ร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ และนางสุรีย์ศรี (ละมุน) ยงใจยุทธ โดยที่นามสกุลยงใจยุทธนั้น สืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์ของลาว สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2496 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2507พล.อ.ชวลิต สมรสกับ คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (ลิมปภมร) มีบุตร 3 คน คือ นายคฤกพล ยงใจยุทธ นางอรพิณ นพวงศ์ (ถึงแก่กรรม) และ พันตำรวจตรีหญิงศรีสุภางค์ โสมกุลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตผู้บัญชาการทหารบกเป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนมสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "จิ๋วหวานเจี๊ยบ" จากการมีบุคคลิกพูดจาอ่อนนิ่ม นุ่มนวล

จอมพลสฤษดิ์ ....


จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับนางจันทิพย์ ธนะรัชต์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2462 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ใช้เวลาเรียนอยู่ 10 ปี จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2471 ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" จอมพลสฤษฎ์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแปลวรรณกรรมกัมพูชามาเป็นภาษาไทย ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษฎ์ได้ให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจลาว นายพล พลภูมี หนอสวัน ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ ปะเทดลาว ในราชอาณาจักรลาว
จอมพลสฤษดิ์มีอนุภรรยาจำนวนมาก และมีบุตรหลายคน สมรสครั้งสุดท้ายกับ นางสาววิจิตรา ชลทรัพย์

นายกอภิสิทธิ์


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 และคนปัจจุบันของประเทศไทย และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ภายหลังการก่อรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี เขาถูกจัดอันดับเป็นนักการเมืองแถวหน้าของพรรคอย่างรวดเร็ว แต่แพ้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2544 นายอภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2548 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองในไทย ราว พ.ศ. 2548-2549 นายอภิสิทธิ์ได้เสนอแนวคิด จนกลายเป็นข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเกี่ยวกับการทูลเกล้าขอ "นายกรัฐมนตรีพระราชทาน" จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ดำรงตำแหน่งแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาใจความตอนหนึ่งว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย..." ภายใต้การบริหารพรรคของนายอภิสิทธิ์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อาวุโสกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นผู้สมคบคิดแผนฟินแลนด์ เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี และก่อตั้งสาธารณรัฐ นายอภิสิทธิ์ได้เคยตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 โดยไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากนายอภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้ใช้วิธีต่อต้านแบบเดียวกับกลุ่ม นปช ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากพรรคอื่น ๆ ให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่านายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด และตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยในข้อหาเดียวกัน อภิสิทธิ์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 โดยกล่าวว่าเป็นการปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540[5] พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ให้แก่พรรคพลังประชาชน ในเหตุการณ์การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สมาชิกประชาธิปัตย์บางคนกลายเป็นแกนนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่มีการปะทะกันระหว่าง พธม. กับตำรวจและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง นายอภิสิทธิ์แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการกระทำนี้ การปิดล้อมดังกล่าวได้ยุติลงภายหลังคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค ผู้บัญชาการทหารบกและหนึ่งในคณะก่อการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกกล่าวหาว่าได้บีบบังคับให้สมาชิกพรรคพลังประชาชนหลายคน รวมทั้งกลุ่มเพื่อนเนวิน ให้มาสนับสนุนอภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำประเทศระหว่าง
วิกฤตการณ์การเงินโลก และเผชิญหน้ากับความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ระหว่างเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้ประท้วง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้าขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกครั้งที่ 4 รวมทั้งเกิดการประท้วงอย่างรุนแรงในกรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เซ็นเซอร์สื่อ และสั่งการให้ทหารสลายการชุมนุมของผู้ประท้วง สมาชิกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีส่วนเกี่ยวข้องในความพยายามสังหารแกนนำ พธม. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะกล่าวโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ นายอภิสิทธิ์ให้ความสำคัญสูงสุดในการเซ็นเซอร์และฟ้องร้องบุคคลผู้ตั้งคำถามต่อบทบาทของสภาองคมนตรีไทย และพระมหากษัตริย์ในทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ว่า อภิสิทธิ์ตอบโต้เกี่ยวกับข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทช้าเกินไปจากรายงานปี พ.ศ. 2553 Human Rights Watch ได้ชมเชยอภิสิทธิ์ว่าเป็นคนที่มีวาทศิลป์ในการพูด แต่แย้งกลับในบันทึกของเขาว่า "รัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการดำเนินคดีตามกฎหมายในประเทศไทย"การทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวิฑูรย์ นามบุตร ลออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัย ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง จึงได้ประกาศลาออก นายอภิสิทธิ์ยังเผชิญกับความตึงเครียดซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากประเทศกัมพูชา ในหลายประเด็น รวมทั้งการแต่งตั้งแกนนำ พธม. นายกษิต ภิรมย์ อันเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การปะทะตามแนวชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร และการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา

ทักษิณ .....


พันตำรวจโท ด็อกเตอร์ ทักษิณ ชินวัตร (ชื่อจีน: 丘達新 Qiū Dáxīn; 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 – ) นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 เป็นนักธุรกิจด้านการโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] อดีตเคยรับราชการตำรวจ อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544พ.ศ. 2549 แต่พ้นจากตำแหน่งหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เคยเป็นเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี นับเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันถือสัญชาติไทย นิคารากัว[2][3] และมอนเตเนโกร[4] และยังดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของกัมพูชา
ในปี พ.ศ. 2537 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เข้าสู่การเมืองโดยสังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมาจึงได้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา เขาจึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรกและดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดำรงตำแหน่งจนครบวาระเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และจากผลการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปี พ.ศ. 2548 ทำให้เขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สองด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์[5][6]
สำหรับผลการทำงานทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับความชื่นชมในฐานะที่ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม[7] และมีโครงการประชานิยมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ถูกโจมตีจากประชาชนบางกลุ่มว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวง มีผลประโยชน์ทับซ้อนหลายอย่าง รวมทั้งการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ในปัจจุบันเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[8] และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 2 ปี จากคดี "ที่ดินรัชดา"[9] เขาจึงได้หลบหนีคดีไปยังต่างประเทศ ทำให้เขาได้รับความเห็นใจจากกลุ่มผู้สนับสนุน แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ถูกโจมตีอย่างหนักจากกลุ่มผู้ต่อต้าน ทรัพย์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ถูกอายัดในประเทศไทยกว่า 76,000 ล้านบาท เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ[10][11] ก่อนที่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ทรัพย์ดังกล่าวราว 46,000 ล้านบาท ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดิน

จอมพล ป. พิบูลสงคราม.......


จอมพล ป. พิบูลสงคราม เดิมชื่อ แปลก ขีตตะสังคะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรนายขีด และนางสำอางค์ ขีตตะสังคะ ภริยาคือ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (เดิมนามสกุล "พันธุ์กระวี")จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนกลาโหมอุทิศ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี จากนั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งสำเร็จการศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2459 ขณะอายุ 19 ปี โดยได้รับยศร้อยตรี และเข้าประจำการที่กองพลที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก จากนั้นไม่นานได้สอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการได้เป็นที่ 1 และเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และกลับมารับราชการต่อไป กระทั่งได้ยศพันตรี มีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ที่ "หลวงพิบูลสงคราม"เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พันตรี หลวงพิบูลสงครามได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร ในเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยได้เป็นกำลังสำคัญในสายทหาร และเมื่อปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบกครั้นเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ท่านได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2484 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นจอมพล แปลก พิบูลสงคราม (โดยได้ยกเลิกราชทินนามแบบเก่า)

ปรีดี นนมยงค์.......

นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 บนแพทางด้านใต้ของคูเมืองอยุธยา ราชธานีเก่าแห่งสยาม ท่านเป็น บุตรชายคนโตของครอบครัวกสิกรฐานะดีสำเร็จการศึกษาระดับมัฐยมเมื่ออายุเพียง 14 ปี ซึ่งเยาว์เกินกว่าจะเรียนต่อในสถาบัน การศึกษาขั้นสูงได้ นายปรีดีจึงช่วยครอบครัวทำนาที่อำเภอวังน้อยอีกสองปี ก่อนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายใน ปี 2460 สองปีต่อมาจึงสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต พร้อมกับได้รับทุนจากกระทรวงยุติธรรมให้ ไปศึกษาต่อด้านกฎหมาย ท ี่ ประเทศฝรั่งเศส ในปี 2463 ท่านได้รับปริญญารัฐเป็น " บาเชอลิเยอร์" กฎหมาย และ "ลิซองซิเย" กฎหมาย จาก มหาวิทยาลัยก็อง และในปี 2469 ได้รับ ปริญญารัฐเป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย"ฝ่ายนิติศาสตร์ และประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัย ปารีส นับเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษา ระดับนี้ หลังจากกลับสู่สยาม ได้หนึ่งปี ในเดือนพฤศจิกายน 2471 นายปรีดีได้ สมรสกับ นางสาวพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ มีบุตรธิดาด้วยกันหกคน

นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนไทยผู้มีความสำคัญยิ่งในศตวรรษนี้ ท่านมีบุคลิกภาพเข้มแข็ง มีสายตา อันยาวไกล อุทิศตนเพื่อ รับใช้ ชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานมากมายเป็นที่ปรากฎ และมีคุณธรรม
อันประเสริฐเป็นแนวทางแห่งชาติ เช่นเดียวกับ บุคคลสำคัญ อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ชื่อของนายปรีดี
จักดำรงอยู่ต่อไปแม้หลังจากท่านได้สิ้นชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ ความคิดของท่านตั้ง อยู่บนฐาน
ของคุณฐรรมสากลอันยังประโยชน์ได้แม้ในปัจจุบันกาล เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาว ชาวไทย
จำนวนไม่น้อยแม้ในหมู่ผู้ที่เคย ปฏิเสธความคิดของท่านมาก่อน ได้หวนกลับมาศึกษาทบทวนได้ค้นพบ ความคิดและ วิสัยทัศน์ ของนายปรีดีที่มุ่งมั่นให้เกิดสังคมที่ดีงามยิ่งขึ้น